วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เครื่องดนตรีและอุปกรณในการแสดงตีกลองชัยมงคล


เครื่องดนตรีและอุปกรณ์ในวงประกอบด้วย

() กลองสะบัดชัยโบราณ 1 ชุด
ประกอบด้วยกลองใบใหญ่ 1 ลูก และกลองใบเล็ก 3 ลูก

() ฉาบ 1 คู่

() โหม่งหรือฆ้อง และ ไม้ตีโหม่ง
โหม่งหรือฆ้องมีได้ตั้งแต่ 9 ใบหรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับขนาดของหน้ากลองใบใหญ่
ไม้ตีโหม่งมีจำนวนเท่ากับโหม่งที่ใช้ มีขนาดลดหลั่นกันไปตามขนาดของโหม่ง

() ไม้ตีกลอง ซึ่งมี 2 ชนิด ได้แก่
ไม้ค้อน จะใช้ 1 อันหรือ 1 คู่ (2 อัน) แล้วแต่จังหวะเพลงที่ตี  ไม้แจ่ม 1 อัน


กระบวนการสืบทอดและการถ่ายทอด



กระบวนการสืบทอดและการถ่ายทอด
          การทํากลองชัยมงคล สืบเนื่องมาจากการไปเที่ยวดูงานประเพณีต่าง ๆ ในแต่ละชุมชนและได้เห็นการแสดง เช่น การตีกลองปู่จา การตีกลองสะบัดชัย การตีกลองชัยมงคล ตลอดจนถึงการฟ้อน ต่าง ๆ ครั้นกลับเข้ามาในชุมชนของตนเอง ก็พบว่ามีกลองอยู่ ๑ ใบอยู่ในวัดกิ่วแลจึงได้ ชักชวนกันมาศึกษา ว่าคนในสมัยก่อนมี วิธีการทำกลองกันอย่างไร จึงได้ช่วยกัน แกะกลองออกมาศึกษาดู หลังจากนั้นก็ เริ่มทำกลองให้แก่วัดเพื่อใช้ตีในงานตาม ประเพณีของชุมชน คณะสล่าทำกลองชัย มงคลได้ให้ข้อมูลว่า ในการทำกลองแต่ละ ครั้งได้มีเด็กหรือเยาวชนในหมู่บ้านเข้ามา แวะเวียนดู ให้ความสนใจในการทำกลอง แต่ละครั้ง ขั้นตอนการทำกลองแต่ละใบใช้ เวลาประมาณ ๗ เดือน ผู้ทำ กลองจึง ถ่ายทอดโดยการบอกเล่าและวิธีการทำหรือ จากการสอบถามของเด็กและเยาวชนที่ให้ ความสนใจ ประกอบกับเด็ก เยาวชนใน ชุมชนก็ให้ความสนใจการตีกลองต่างๆ ได้รับความอนุเคราะห์จากอาจารย์มงคล

วิทยากรท้องถิ่น

พ่อครู มานพ  ยาระณะ

ประวัติทั่วไป
          นายมานพ   ยาระณะ ปัจจุบันอายุ ๗๔ ปี เกิดวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๔ บิดาชื่อนายคำปัน ยาระณะ อาชีพรับราชการครู มารดาชื่อ นางบัวเขียว ยาระณะ อาชีพ ค้าขาย ภรรยาชื่อ นางสมัย   ยาระณะ  (ไชยวงศ์) มีบุตรสาว ๑ คน คือ นางสาวชลธาร ยาระณะ (มานพ ยาระณะ.๒๕๕๕)

ประวัติการศึกษา
          จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ โรงเรียนวัดศรีดอนไชย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติการทำงาน
พ.ศ. ๒๔๘๘ 
๑.ประกอบอาชีพค้าขายช่วยพ่อแม่หารายได้จุนเจือครอบครัว
๒.ประกอบอาชีพครูโรงเรียนสอนศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา โดยใช้บ้าน เป็นสถานที่ทำการสอน มาเป็นเวลากว่า ๕๐ ปี โดยสอนวิชาการดังต่อไปนี้
     
- สอนศิลปะการชกมวยไทย ค่ายคล่องประชัน 
      -
สอนศิลปะการต่อสู้มือเปล่า ( เชิง อ่านว่า เจิง” ), ศิลปะการต่อสู้เชิงดาบ,เชิงหอก, เชิงหลาว, เชิงไม้ค้อน ฯลฯ
     
- สอนศิลปะการฟ้อนเชิง (อ่านว่าฟ้อนเจิง ), ศิลปะการฟ้อนดาบศิลปะการฟ้อนหอก,ศิลปะการฟ้อนผางประทีป, ศิลปะการฟ้อนสาวไหมแมงโบ้ง , ฯลฯ
     
- สอนศิลปะการตีกลองไชยมงคล ( อ่านว่ากลองชัยยะมงคล“)
     
- สอนศิลปะการตีกลองสะบัดไชยโบราณ 
     
- สอนศิลปะการตีกลองปู่เจ่
     
- สอนศิลปะการตีกลองมองเซิงแบบราชสำนัก
     
- สอนศิลปะการตีกลองบูชา ( อ่านว่า กลองปูจา” )
     
- สอนศิลปะการตีกลองทิงบ้อม
     
- สอนศิลปะการตีกลองซิงมอง
     
   ฯลฯ
๓. ประกอบอาชีพครูผู้เชี่ยวชาญพิเศษของ วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. ๒๕๒๙ เป็นต้นมา



ผู้จัดทำ


คณะผู้จัดทำ
                                                   
                                นางสาว กรกนก ชื่นจิตร    รหัส 55122601
                                นางสาว นันทิยา คำฟู         รหัส 55122613
                                นางสาว พัชราภรณ์ ใจสุข  รหัส 55122615
                                นาย ชาญยุทธ เพิ่มบุญมา   รหัส 55122629
                                นาย ภาคภูมิ สุวรรณา         รหัส 55122735
นักศึกษาชั้นปีที่1

สาขาวิชา สารสนเทศศาสตร์
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่



วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การใช้งานกลองชัยมงคลในโอกาสต่างๆ




ในอดีตกลองชัยมงคลมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของคนเมืองอย่างยิ่ง  โดยใช้ตี ดังนี้
           
. ใช้ตีบอกเป็นอาณัติสัญญาณ  เช่นการประชุม  มีเหตุร้ายเกิด เป็นต้น
. ตีในการออกทำศึกสงครามเพื่อให้ขวัญกำลังใจแก่ทหาร
. ตีเป็นพุทธบูชา  ก่อนวันพระ หรือในวันพระ  หรืองานทำบุญ เช่น สลากภัตต์ เป็นต้น



วิธีการทำกลองชัยมงคล





ขั้นตอนที่1 วิธีการสานกลองชัยมงคล


วิธีการสานไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก พอสรุปได้ดังนี้
๑. หาวันตัดไม้ตามความเชื่อของคนโบราณ (ผู้ที่มาช่วยสาน) ให้ตัดตรงกับวันเน่าของปี่ใหม่เมือง จะทำให้ไม้ไม่เป็นมอด 
๒. เลือกตัดไม้สีสุกที่แก่ นำมาตัดเป็นปล้องยาวประมาณ ๒ เมตร เพราะสะดวกในการจักตอก และสาน

รูปที่1 ไม้ไผ่ตัดแล้ว


๓. จักเป็นเส้นตอกไว้จำนวนให้มาก

รูปที่2 เหลาไม้ไผ่


๔. โครงกลองใช้ไม้สีสุกผ่าเป็นซีก ไพเป็นพื้นพลางไว้ก่อน

รูปที่3 โครงกลอง


๕. โครงกลองต้องทำแม่พิมพ์ตั้งขึ้นก่อน เพื่อง่ายต่อการสาน ความยาวประมาณ ๑.๕๐ เมตร กว้าง ๓๙ นิ้ว

รูปที่4 โครงกลอง


๖. เมื่อตั้งโครงเรียบร้อยแล้ว เริ่มสานโดยสานลาย ๓ คือสานไปทีละ ๓ เส้นจนสิ้นสุดของความยาว

รูปที่5 เริ่มสาน


๗. ลูกตุบ ๓ ลูกก็ใช้วิธีการสานอย่างเดียวกัน ลูกตุบมี ๓ ขนาด ตามความกว้างของเส้นผ่าศูนย์กลาง คือ ๑๑ นิ้ว ๑๒ นิ้ว และ ๑๓ นิ้ว มีความยาวครึ่งหนึ่งของแม่กลอง

รูปที่6 สานเกือบเสร็จ


ขั้นตอนที่2 การทาด้วยขี้เลื้อย (ฉาบกลองหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหลูบกลอง)

        เมื่อได้โครงกลองที่สานเรียบร้อยแล้ว รอให้ไม้แห้งระยะหนึ่งจึงนำมาทา        (หลูบ)ด้วยขี้เลื้อยไม้สักละเอียดที่สุด ผสมด้วยกาวลาเท็กตามสมัยนิยม (โบราณใช้กาวหนังควาย) ขั้นตอนนี้ต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร ซึ่งทำเป็นขั้นตอนดังนี้

รูปที่7 ขี้เลื่อยผสมกาวลาเทกซ์


๑. ทาขี้เลื้อยด้านในก่อน รอให้แห้งสนิทประมาณ ๗ วัน หรือมากน้อยขึ้นกับสภาพอากาศ

รูปที่8 ด้านในกลอง


๒. เมื่อแห้งดีแล้ว จึงทาขี้เลื้อยด้านนอกรอบที่ ๑ รอให้แห้งสนิทเช่นเดิม เมื่อแห้งแล้ว ทารอบที่ ๒ และรอบที่ ๓ แต่ไม่ให้หนา

รูปที่9 ด้านนอกกลอง


๓. ใช้ขี้เลื้อยเช่นเดิมปั้นเหงือกกลอง ซึ่งปั้นเป็นเหงือกหม้อนึ่ง รอจนแห้งแล้ว ทาขี้เลื้อยด้านในอีกรอบ ไม่ให้หนา

รูปที่10 ขี้เลื่อย


๔. เมื่อทุกสิ่งแห้งสนิทแล้ว จึงขัดด้วยกระดาษทราย ตกแต่งพื้นผิวด้านนอกให้เรียบร้อย แล้วลงน้ำมันเคลือบเงา เป็นเสร็จขั้นตอนนี้



ขั้นตอนที่3 หุ้มกลอง


    ก่อนที่จะหุ้มกลองชัยมงคล มีการทำพิธีใส่หัวใจกลอง หัวใจกลองคือคาถายันต์ เพื่อให้เกิดความเป็นศิริมงคล

            ๑. เตรียมหนังวัว ให้มีขนาดใหญ่กว่าหน้ากลองเล็กน้อย ตัดเป็นวงกลมตามขนาดหน้ากลอง แล้ววัด หมายจุดเพื่อตอกหูหิ่ง

รูปที่11 วัดหนังควายเพื่อเจาะ


            ๒. หามื้อจันทร์วันดีในการหุ้ม เมื่อได้วันดีแล้วต้องแช่หนังล่วงหน้าก่อน ๑ วัน ๑ คืน หนังจะอ่อนพอดี
            ๓. เมื่อถึงกำหนดวันแล้ว เอาหนังมาตอกหูหิ่งตามที่หมายจุดไว้ แล้วใช้เชือกถักร้อยเป็นหูหิ่ง

รูปที่12 เจาะรูหนังควาย
รูปที่13 ร้อยเชือกใส่รูที่เจาะไว้
รูปที่14 ร้อยเชือกใส่รูที่เจาะไว้


            ๔. หุ้มกลองทั้ง ๒ หน้าพร้อมกัน แล้วใช้เชือกถักร้อยหูหิ่งทำเป็นเชือกดึงรอบกลอง ไม่ควรดึงหนังหน้ากลองให้ตึงมาก เพราะหนังยังอ่อนอยู่อาจทำให้หูหิ่งชีกขาดได้  รอให้แห้งหมาด ๆ ในวันใหม่คอยดึงเชือกขึ้นหนังกลองให้ตึง เป็นอันเสร็จวิธีการหุ้มกลอง

รูปที่15 หุ้มกลอง
รูปที่16 หุ้มกลองทั้ง2ด้าน
รูปที่17   ดึงเชือกขึ้นหนังกลอง
รูปที่18   เสร็จการหุ้มกลอง

            วิธีการสาน การหลูบ และการหุ้มที่กล่าวมานี้เป็นขั้นตอนพอสังเขป ทุกขั้นตอนมีวิธีการปลีกย่อยออกไปอีกพอสมควร ซึ่งต้องอาศัยความเพียร และ ระยะเวลาจึงจะสำเร็จ

เมื่อเสร็จทั้ง ๓ ขั้นตอนแล้ว ต้องดึงหนังกลองให้ตึง เพื่อให้เสียงกลองดังขึ้น





วัสดุในการทำกลองชัยมงคล



วัสดุ

๑ ไม้ไผ่สีสุก 2เมตร หรือแล้วแต่ขนาดความยาวของกลอง

รูปที่1 ไม้ไผ่ที่ตัดแล้ว
รูปที่2 ไม้ไผ่ที่นำมาเหลาให้เป็นเส้นๆ


๒ หนังควาย  

รูปที่3 หนังควายตากแห้งและทำการเจาะรูแล้ว


๓ ขี้เลื่อย (ไม้สัก) นำมาผสมกับกาวลาเทกซ์

รูปที่4 ขี้เลื่อยไม่สัก
รูปที่5 ผสมกาวลาเทกซ์กับขี้เลื่อย


๔ กาวลาเทกซ์

รูปที่6  กาวลาเทกซ์ชนิดขวด



๕ เชือก

รูปที่7 เชือก


๖ กระดาษทราย


รูปที่8  กระดาษทราย



๗ หวาย



รูปที่9  หวาย