ขั้นตอนที่1 วิธีการสานกลองชัยมงคล
วิธีการสานไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก
พอสรุปได้ดังนี้
๑.
หาวันตัดไม้ตามความเชื่อของคนโบราณ (ผู้ที่มาช่วยสาน)
ให้ตัดตรงกับวันเน่าของปี่ใหม่เมือง จะทำให้ไม้ไม่เป็นมอด
๒. เลือกตัดไม้สีสุกที่แก่ นำมาตัดเป็นปล้องยาวประมาณ
๒ เมตร เพราะสะดวกในการจักตอก และสาน
รูปที่1 ไม้ไผ่ตัดแล้ว
๓. จักเป็นเส้นตอกไว้จำนวนให้มาก
รูปที่2 เหลาไม้ไผ่
๔. โครงกลองใช้ไม้สีสุกผ่าเป็นซีก
ไพเป็นพื้นพลางไว้ก่อน
รูปที่3 โครงกลอง
๕. โครงกลองต้องทำแม่พิมพ์ตั้งขึ้นก่อน
เพื่อง่ายต่อการสาน ความยาวประมาณ ๑.๕๐ เมตร กว้าง ๓๙ นิ้ว
รูปที่4 โครงกลอง
๖. เมื่อตั้งโครงเรียบร้อยแล้ว
เริ่มสานโดยสานลาย ๓ คือสานไปทีละ ๓ เส้นจนสิ้นสุดของความยาว
รูปที่5 เริ่มสาน
๗. ลูกตุบ ๓ ลูกก็ใช้วิธีการสานอย่างเดียวกัน
ลูกตุบมี ๓ ขนาด ตามความกว้างของเส้นผ่าศูนย์กลาง คือ ๑๑ นิ้ว ๑๒ นิ้ว และ ๑๓ นิ้ว
มีความยาวครึ่งหนึ่งของแม่กลอง
รูปที่6 สานเกือบเสร็จ
ขั้นตอนที่2 การทาด้วยขี้เลื้อย (ฉาบกลองหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหลูบกลอง)
เมื่อได้โครงกลองที่สานเรียบร้อยแล้ว รอให้ไม้แห้งระยะหนึ่งจึงนำมาทา
(หลูบ)ด้วยขี้เลื้อยไม้สักละเอียดที่สุด ผสมด้วยกาวลาเท็กตามสมัยนิยม
(โบราณใช้กาวหนังควาย) ขั้นตอนนี้ต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร
ซึ่งทำเป็นขั้นตอนดังนี้
รูปที่7 ขี้เลื่อยผสมกาวลาเทกซ์
๑. ทาขี้เลื้อยด้านในก่อน รอให้แห้งสนิทประมาณ ๗ วัน
หรือมากน้อยขึ้นกับสภาพอากาศ
รูปที่8 ด้านในกลอง
๒. เมื่อแห้งดีแล้ว จึงทาขี้เลื้อยด้านนอกรอบที่ ๑
รอให้แห้งสนิทเช่นเดิม เมื่อแห้งแล้ว ทารอบที่ ๒ และรอบที่ ๓ แต่ไม่ให้หนา
รูปที่9 ด้านนอกกลอง
๓. ใช้ขี้เลื้อยเช่นเดิมปั้นเหงือกกลอง ซึ่งปั้นเป็นเหงือกหม้อนึ่ง
รอจนแห้งแล้ว ทาขี้เลื้อยด้านในอีกรอบ ไม่ให้หนา
รูปที่10 ขี้เลื่อย
๔.
เมื่อทุกสิ่งแห้งสนิทแล้ว จึงขัดด้วยกระดาษทราย ตกแต่งพื้นผิวด้านนอกให้เรียบร้อย
แล้วลงน้ำมันเคลือบเงา เป็นเสร็จขั้นตอนนี้
ขั้นตอนที่3 หุ้มกลอง
ก่อนที่จะหุ้มกลองชัยมงคล
มีการทำพิธีใส่หัวใจกลอง หัวใจกลองคือคาถายันต์ เพื่อให้เกิดความเป็นศิริมงคล
๑. เตรียมหนังวัว ให้มีขนาดใหญ่กว่าหน้ากลองเล็กน้อย
ตัดเป็นวงกลมตามขนาดหน้ากลอง แล้ววัด หมายจุดเพื่อตอกหูหิ่ง
รูปที่11 วัดหนังควายเพื่อเจาะ
๒. หามื้อจันทร์วันดีในการหุ้ม
เมื่อได้วันดีแล้วต้องแช่หนังล่วงหน้าก่อน ๑ วัน ๑ คืน หนังจะอ่อนพอดี
๓. เมื่อถึงกำหนดวันแล้ว
เอาหนังมาตอกหูหิ่งตามที่หมายจุดไว้ แล้วใช้เชือกถักร้อยเป็นหูหิ่ง
รูปที่12 เจาะรูหนังควาย
รูปที่13 ร้อยเชือกใส่รูที่เจาะไว้
รูปที่14
ร้อยเชือกใส่รูที่เจาะไว้
๔. หุ้มกลองทั้ง ๒ หน้าพร้อมกัน
แล้วใช้เชือกถักร้อยหูหิ่งทำเป็นเชือกดึงรอบกลอง ไม่ควรดึงหนังหน้ากลองให้ตึงมาก
เพราะหนังยังอ่อนอยู่อาจทำให้หูหิ่งชีกขาดได้
รอให้แห้งหมาด ๆ ในวันใหม่คอยดึงเชือกขึ้นหนังกลองให้ตึง เป็นอันเสร็จวิธีการหุ้มกลอง
รูปที่15 หุ้มกลอง
รูปที่16
หุ้มกลองทั้ง2ด้าน
รูปที่17
ดึงเชือกขึ้นหนังกลอง
รูปที่18
เสร็จการหุ้มกลอง
วิธีการสาน การหลูบ
และการหุ้มที่กล่าวมานี้เป็นขั้นตอนพอสังเขป
ทุกขั้นตอนมีวิธีการปลีกย่อยออกไปอีกพอสมควร ซึ่งต้องอาศัยความเพียร และ
ระยะเวลาจึงจะสำเร็จ
เมื่อเสร็จทั้ง
๓ ขั้นตอนแล้ว ต้องดึงหนังกลองให้ตึง เพื่อให้เสียงกลองดังขึ้น